รายละเอียด
ประโยชน์และสรรพคุณต่าง ๆ ของ พลูคาว (คาวตอง)
พลูคาว หรือ ผักคาวตอง เป็นผักพื้นบ้านที่นิยมรับประทานใบสดแกล้มอาหาร โดยเฉพาะอาหารเหนือและอีสาน เช่น ลาบ ก้อย และแจ่ว นอกจากนั้น ยังนำมาสกัดเป็นอาหารเสริมต่าง ๆ เนื่องจากการวิจัยพลูคาวมีสรรพคุณในทางช่วยรักษาหรือป้องกันโรคร้ายต่าง ๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน เป็นต้น
ลูคาวเป็นสมุนไพรพื้นเมืองที่ได้รับความนิยมในแถบเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มานาน ในประเทศไทยมักพบได้มากในภาคเหนือ ส่วนในประเทศจีน พลูคาวเป็นพืชสมุนไพรที่นิยมนำมาใช้รักษาอาการไอ โรคปอดบวม และโรคหลอดลมอักเสบ พลูคาวมีสารประกอบฟีนอลที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย เช่น สารฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) อัลคาลอยด์ (Alkaloid) และสารเควอซิทิน (Quercetin) ซึ่งอาจมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการทำลายเซลล์ในร่างกาย และยับยั้งการอักเสบได้
ปัจจุบันมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์บางส่วนที่เกี่ยวกับคุณสมบัติต่าง ๆ ของพลูคาวไว้ ดังต่อไปนี้
- พลูคาว (คาวตอง) ยับยั้งเซลล์มะเร็ง ผักต่าง ๆ ในท้องตลาดอาจมีการปนเปื้อนสารพิษอยู่มาก หลายคนจึงหันมาบริโภคผักพื้นบ้านอย่างพลูคาวกันมากขึ้น ที่สำคัญ เชื่อกันว่าพลูคาวเป็นสมุนไพรที่อาจมีฤทธิ์ต้านมะเร็งได้ มีงานวิจัยหนึ่งที่สกัดสารชีวภาพกลุ่มอัลคาลอยด์หลายชนิดจากพลูคาวแล้วนำมาใช้ทดลองในตัวอย่างเซลล์มะเร็งของมนุษย์ พบว่าสารชนิดนี้อาจมีคุณสมบัติต้านการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ขณะที่ตำรับยาอื่น ๆ ของหลายประเทศในเอเชีย เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เนปาล ยังนำพลูคาวมาใช้ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น เพื่อรักษาอาการป่วย ไม่ว่าจะเป็นบรรเทาอาการปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ ไอ บิด แก้ไข้ อาหารไม่ย่อย เป็นยาระบาย ลดความดันโลหิตสูง ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ขับระดู รักษาโรคสตรี ฯลฯ
- พลูคาว (คาวตอง)ยับยั้งไวรัส ต้านไข้หวัดใหญ่ จากการวิจัยทั้งในไทยและต่างประเทศ พบว่า น้ำมันหอมระเหยในพลูคาวสามารถยับยั้งเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของไข้หวัดใหญ่ และโรคซาร์สได้ นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ต้านไวรัสต้นเหตุโรคเริม และไวรัสเอดส์ในหลอดทดลองได้อีกด้วย ทั้งนี้ หากต้องการกินพลูคาวโดยหวังผลในการป้องกันโรคหวัด เราสามารถกินพลูคาวหรือผักคาวตองสด ๆ เพื่อให้ได้น้ำมันหอมระเหยของพลูคาวโดยตรง
- พลูคาว (คาวตอง) ขับปัสสาวะ พลูคาวมีสารฟลาโวนอยด์ที่ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงไต ส่งผลให้มีฤทธิ์ขับปัสสาวะได้
- พลูคาว (คาวตอง) รักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน ลมพิษ นิยมนำต้นพลูคาวสดมาตำละเอียด แล้วพอกรักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน ลมพิษ แผลแมลงสัตว์กัดต่อย ผิวหนังอักเสบ ช้ำ บวม และยังไล่หมัด หรือคั้นน้ำมาหมักผมไว้กำจัดเหาก็ได้ ด้วยสรรพคุณที่ช่วยรักษาโรคผิวหนัง แก้ผิวแห้ง แตก หยาบกร้าน จึงมีคนนำพลูคาวมาเป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางที่ใช้บำรุงผิว
- พลูคาว (คาวตอง) รักษาฝีหนองในปอด ในตำราพื้นบ้านระบุว่า พลูคาวหรือคาวตองใช้รักษาฝีหนองในปอดได้
- การช่วยรักษาโรคเบาหวาน โรคเบาหวานเป็นภาวะที่ร่างกายดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน จนทำให้มีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ พลูคาวเป็นผักที่ไม่มีน้ำตาล และมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพหลายชนิด จึงเชื่อว่าการบริโภคพลูคาวอาจช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและรักษาโรคเบาหวานได้ ซึ่งมีงานวิจัยหนึ่งศึกษาประสิทธิผลในด้านนี้ โดยให้หนูทดลองที่เป็นโรคเบาหวานรับน้ำมันระเหยจากพลูคาว หลังการทดลองพบว่าน้ำมันระเหยจากพลูคาวอาจช่วยปรับระดับกลูโคส อินซูลิน และฮอร์โมนอดิโพเนคทิน ซึ่งอาจช่วยให้ร่างกายลดภาวะดื้อต่ออินซูลินลงได้ เช่นเดียวกับอีกงานวิจัยหนึ่งที่ศึกษาการใช้สารสกัดจากพลูคาวในหนูทดลองที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่าสารสกัดดังกล่าวอาจช่วยลดระดับโปรตีนและสารอัลบูมินในปัสสาวะ และอาจช่วยลดภาวะดื้อต่ออินซูลินได้อย่างมีนัยสำคัญ
สรุปประโยชน์ของพลูคาว (คาวตอง)
ประโยชน์และสรรพคุณ “พลูคาว“
- มีฤทธิ์ในการช่วยต่อต้านมะเร็ง
- ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
- มีฤทธิ์ในการช่วยบำบัดฟื้นฟูโรคความดันโลหิตสูง
- ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ต้านทานโรค ช่วยยืดอายุผู้ป่วยให้อยู่สู้โรคได้นานมากขึ้น
- มีส่วนช่วยยับยั้งเบาหวาน รักษาความสมดุลของร่างกาย
- ช่วยทำให้กระดูกเชื่อมติดกันเร็วขึ้น (ต้นสด)
- ช่วยรักษาปริมาณของเหลวในร่างกาย ช่วยรักษาอาการหูชั้นกลางอักเสบ (ทั้งต้น)
- ใช้รักษาโรคติดเชื้อและทางเดินหายใจ (ต้น)
- ประโยชน์ของผักคาวตองช่วยแก้ไข้ (ใบ)
- ช่วยรักษาโรคไข้มาลาเรีย (ต้น)
- ใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาที่เป็นน้ำยาข้น ใช้ทารักษาและช่วยต้านเชื้อโรคหวัด ไข้หวัดใหญ่
- ใช้เป็นส่วนประกอบในตำรับยา ช่วยรักษาอาการติดเชื้อเฉียบพลัน ติดเชื้อทางเดินหายใจ
- ใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาที่เป็นน้ำยาข้น ใช้ทารักษาคางทูม ต่อมทอนซิลอักเสบ และปอดอักเสบในเด็ก
- มีสรรพคุณช่วยแก้และบรรเทาอาการไอ (ทั้งต้น)
- มีส่วนช่วยกระตุ้นการแบ่งตัวของเซลล์เม็ดเลือดขาวช่วยรักษาภาวะภูมิแพ้ หอบหืด
- ช่วยรักษาโรคไอกรน (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
- ช่วยรักษาการอักเสบชนิดธรรมดาบริเวณแก้วตา (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
- ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ (ทั้งต้น)
- ช่วยรักษาโรคหลอดลมขยายตัวมากเกินไป (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
- ช่วยรักษาอาการปอดบวม ปอดอักเสบ (ทั้งต้น)
- ช่วยรักษาฝีหนองในปอด (ต้น)
- ช่วยรักษาอาการคั่งน้ำในอกจากโรคมะเร็ง (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
- ช่วยลดอาการบวมน้ำ (ทั้งต้น)
- ใช้เป็นยาระบาย อาหารไม่ย่อย (ใบ)
- รักษาอาการท้องเสีย (ใบ)
- ใช้แก้โรคบิด (ต้น, ใบ, ทั้งต้น)
- ช่วยขับพยาธิ (ใบ)
- ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (ราก, ทั้งต้น)
- ช่วยรักษาอาการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ (ทั้งต้น)
- ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร (ต้นสด, ใบ, ทั้งต้น)
- ช่วยรักษาโรคหนองใน (ใบ)
- ใช้ปรุงเป็นยาแก้กามโรค (ใบ)
- ช่วยรักษานิ่ว (ต้น)
- ช่วยแก้โรคไต (ใบ)
- ช่วยรักษาอาการไตผิดปกติ (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
- ช่วยรักษาโรคตับอักเสบชนิดดีซ่าน (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
- ช่วยขับระดูขาว (ต้น)
- ช่วยรักษาแผลอักเสบคอมดลูก (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
- ช่วยรักษาการอักเสบบริเวณกระดูกเชิงกราน (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
- ช่วยแก้โรคข้อ (ใบ)
- ช่วยรักษาโรคหัด (ใบ)
- ช่วยรักษาโรคผิวหนังต่าง ๆ (ต้นสด, ใบ)
- ช่วยรักษาผื่นคัน ฝีฝักบัว (ต้นสด)
- มีฤทธิ์ช่วยระงับอาการปวด
- ช่วยห้ามเลือด
- มีฤทธิ์ต้านการอักเสบต่าง ๆ
- ใช้พอกฝี บวมอักเสบ (ต้นสด, ทั้งต้น)
- ช่วยรักษาบาดแผล (ต้นสด)
- ช่วยรักษาแผลเปื่อย (ต้นสด)
- ช่วยรักษาแผลให้หายเร็วขึ้น (ใบ)
- ใช้พอกแผลที่ถูกงูพิษกัด (ต้นสด)
- ช่วยป้องกันการติดเชื้อหลังผ่าตัด (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
- ใบสดผิงไฟพอนิ่มใช้พอกเนื้องอกต่าง ๆ (ใบ)
- มีฤทธิ์ช่วยต่อต้านเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส
- ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของไวรัสชนิดต่าง ๆ เช่น ไข้ทรพิษ หัด งูสวัด เริม เอดส์ (HIV)
- แก้โรคน้ำกัดเท้า ในประเทศจีนใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาช่วยป้องกันและรักษาโรคที่เกิดจากไวรัสในไก่ โดยใช้ผสมในอาหารที่ใช้เลี้ยงไก่
- ใบสดใช้ป้องกันปลาเน่าเสีย (ใบ)
- ใบนำมารับประทานเป็นผักสด
- ใบสดต้มน้ำนำมารดต้นข้าว ข้าวสาลี ต้นฝ้าย ป้องกันพืชเป็นโรคเหี่ยวเฉาตาย
- ใช้ขับทากที่ตายในท้อง (ดอก)
- เหมาะกับผู้ป่วยและผู้ที่ต้องการบำรุงร่างกาย ผู้ป่วยในระยะพักฟื้น
- เหมาะกับผู้ที่ต้องการ Detox ล้างพิษออกจากร่างกาย
- ป้องกันโรคร้าย ช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันแข็งแรงขึ้น ทำให้โรคต่าง ๆ มีอาการดีขึ้น และหายจากอาการของโรคต่าง ๆ ได้ในที่สุด
- ใช้ควบคู่กับการรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือการฉายรังสี จะช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการแพ้น้อยลง
- ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางประเภทครีมทาแก้ผิวหนังแห้ง หยาบกร้าน ป้องกันผิวหนังแตก
ช้อมูล : https://www.disthai.com/, https://medthai.com/, https://cmpccoop.com/